ขอเรียนเชิญเข้าร่วมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลผ่านบทเรียนออนไลน์

ขอเรียนเชิญข้าราชการและบุคลากร เข้าร่วมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลผ่านบทเรียนออนไลน์ ด้วยคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ให้ความสำคัญและเล็งเห็นความจำเป็นในการยกระดับขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัลให้สามารถนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการทำงานซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐตามร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 มุ่งเน้นการยกระดับหน่วยงานภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัลให้มีความพร้อมด้านข้อมูลและสามาถบริการได้ตรงตามความต้องการของประชาชน โดยองค์ความรู้และทักษะด้านดิจิทัลที่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติบัติงานด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนใน 3 เรื่อง คือ กรอบการกำกับดูแลข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ(Data Governance Framework: DGF) การวิเคราะห์และความเข้าใจในนวัตกรรมทางข้อมูล (Data Analytics) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) จึงขอเรียนเชิญเข้าร่วมอบรมออนไลน์ผ่านระบบ E-learning ของ TDGA ได้ที่เว็บไซต์ https://tdga.dga.or.th ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนและเข้าอบรมได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2563 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ผู้ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรออนไลน์เพื่อยืนยันการเข้าอบรมด้วย

เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) คว้า 2 มาตรฐานด้านการออกแบบจาก TIA-942 และ Uptime Institute Tier III ให้แก่ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลแห่งแรกของประเทศไทย

มาตรฐานทั้งสองนี้ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในด้านการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงาน เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) ผู้นำด้านการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ ประกาศความสำเร็จในการเป็นดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรองรับมาตรฐานด้านการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ในระดับ TIA-942 Certification Rated-3 และ Uptime Institute Tier III Certificationซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก จากองค์กร The Telecommunications Industry Association (TIA) และ Uptime Institute ตามลำดับ ทั้งนี้ มาตรฐาน TIA-942 ให้การรับรองครอบคลุมด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม และการดำเนินงานสำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดดาวน์ไทม์ อาทิ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทำเลที่ตั้ง โครงสร้างสถาปัตยกรรม โครงสร้างพื้นฐานของตัวอาคาร ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ ระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบความปลอดภัยทางกายภาพ เป็นต้น สำหรับมาตรฐานการรับรองของ Uptime Institute ในระดับ Tier III เป็นการประเมินและรับรองดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในระหว่างการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ ความสำเร็จในการได้รับมาตรฐานระดับโลกทั้งสองนี้ เป็นการรับรองว่าดาต้าเซ็นเตอร์แคมปัสระดับไฮเปอร์สเกลที่มีระบบเชื่อมต่ออย่างเป็นกลางแห่งแรกในกรุงเทพฯ ของเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล […]

Microsoft แจ้ง อัปเดต Windows 10 ประจำเดือนมิถุนายน อาจทำให้เครื่องรีบูตเองได้ และยังไม่มีทางแก้ไข

Microsoft ยืนยันว่าเกิดปัญหาขึ้นกับตัวอัปเดต Windows 10 ประจำเดือนมิถุนายน อย่างมาก แต่ที่เป็นปัญหาร้ายแรงดูเหมือนจะทำให้เครื่องรีบูตเองแบบควบคุมไม่ได้ ควรหลีกเลี่งการอัปเดตไปก่อน ปัญหาเกิดมาจาก ระบบ Local Security Authority Subsystem Service หรือไฟล์ lsass.exe ที่อาจจะเกิดล่มในบางเครื่อง เป็นผลร้ายแรงอย่างมากจนทำให้เครื่องสั่งรีบูตตัวเองทันที หนักกว่านั้นคือทางวิศวกรของ Microsoft ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ยังคงต้องรอัปเดตต่อไป ถึงปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บางราย ก็อยากเตือนผู้ใช้งานหากหลีกเลียงได้ควรหลีกเลี่ยง โดยปัญหานี้เกิดขึ้นใน Windows 10 เวอร์ชัน 2004, 1909, 1903 และ 1809 ที่เปิดให้อัปเดตวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่มา https://wccftech.com/microsoft-confirms-june-windows-10-up…/

5G มาแล้ว แต่อะไรคือความหมายของคำว่าปลอดภัย

วันนี้เราเริ่มเห็นจุดเริ่มต้นของการใช้งาน 5G เป็นในโทรศัพท์มือถือและแล็ปท็อปบางรุ่น แต่ในไม่ช้าอุปกรณ์ IoT 5G ที่สร้างมาเพื่อใช้งานในสำนักงานหรือในบ้านจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ IoT 5G จะถูกฝังอยู่ในทุกสิ่งตั้งแต่คอมพิวเตอร์ไปจนถึงเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องซักผ้า หรือตู้เย็นภายในบ้าน มันเป็นสิ่งจำเป็นมากที่คนยุคดิจิทัลต้องความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดไม่ปลอดภัยนี้ 5G ยังมีปัญเดิมกับ 3G หรือ 4G คือเราจะมองไม่เห็น Data ที่ถูกส่งไประหว่างคลื่น เราไม่สามาถแยกได้ว่า กิจกรรมบนคลื่นแบบใดเป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตราย โดยจุดเด่นหลัก ๆ ของเทคโนโลยี 5G คือการส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง ความหน่วงของสัญญาณ (Latency) ต่ำ และในหนึ่งจะพื้นจะสามารถรับรับอุปกรณ์ที่มากกว่า 1 ล้านชิ้น และนั่นทำให้การตรวจสอบกิจกรรมอันตรายที่ถูกส่งไปมาระหว่าง 5G ทำได้ยากมาก ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มมากขึ้น หากเราใช้อุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เพราะหากย้อนกลับไป อุปกรณ์ IoT ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยเท่าไหร่ ผู้ผลิตมักให้ความสำคัญกับรูปแบบการใช้งานที่ง่ายและราคาถูกเพื่อให้สามารถแข่งในตลาดได้ และมันอาจยังเป็นแบบเดียวกันในยุคที่ 5G เริ่มใช้งาน นอกจากการใช้งานกับผู้ใช้ทั่วไป 5G ยังเป็นรากฐานใหม่ของอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ต้องการลดต้นทุนในการทำโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการสร้างรูปแบบของ Smart ต่าง […]

นโยบายการดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์พื้นฐาน และอุปกรณ์ต่อพ่วง

นโยบายการดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์พื้นฐาน และอุปกรณ์ต่อพ่วง

ประกาศ การปฏิบัติงานและให้บริการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19)

ประกาศ การปฏิบัติงานและให้บริการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19)

แจ้งแนวปฏิบัติการออกสิทธิ์และปรับปรุงสิทธิ์การใช้งานบริการงานระบบสารสนเทศต่างๆ ของสภากาชาดไทย (กรณีเร่งด่วน)

แจ้งแนวปฏิบัติการออกสิทธิ์และปรับปรุงสิทธิ์การใช้งานบริการงานระบบสารสนเทศต่างๆ ของสภากาชาดไทย (กรณีเร่งด่วน)

การประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภากาชาดไทย พ.ศ. 2564-2566 (ฉบับที่ 3)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 4 เมษายน 2562 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภากาชาดไทย พ.ศ. 2564-2566 (ฉบับที่ 3) ณ โรมแรม The Berkeley Hotel Pratunam โดยในช่วงเช้า (สำหรับผู้บริหาร) มี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย กล่าวเปิดประชุม ดร.มนู อรดีลดลเชษฐ์ กรรรมการพัฒนานโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ สภากาชาดไทย และนายเขมรัฐ บุญสิทธิ ที่ปรึกษาโครงการฯ นำเสนอร่างแผนแม่บทฯ  รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะผู้บริหารสภากาชาดไทย  

Microsoft ออกแพตช์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2019 แก้ไขช่องโหว่กว่า 70 รายการ

Microsoft ออกแพตช์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2019 แก้ไขช่องโหว่กว่า 70 รายการ ที่มา : https://www.techtalkthai.com/microsoft-released-february-2019-patch

การบรรยายชี้แจงนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

เมื่อวันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการจัดบรรยาย “นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของสภากาชาดไทย พ.ศ.2561” เพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ รวมถึงเข้าใจสาระสำคัญของแนวนโยบายฯ และผลกระทบต่อการใช้งานระบบสารสนเทศในสภากาชาดไทย ณ ห้องประชุม ศิริ สิริโยธิน ชั้น 4 อาคารเฉลิมบูรณะนนท์

Skip to content