4 ขั้นตอนการป้องกันการถูกแฮกบัญชีโซเชียลมีเดีย

โปรดระวัง!! เฟสบุ๊คโดน Hack จากผู้ไม่ประสงค์ดี ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแฮ็กบัญชีโซเชียลมีเดียหน่วยงานต่างๆเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line Twitter หรือ Instagram โดยเฉพาะการแฮ็ก Facebook นั้น สามารถเกิดขึ้นได้อยู่เสมอกับผู้ใช้งานทุกคน ดังนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมและสร้างความปลอดภัยในการใช้งานของตนเองด้วยเช่นกัน 4 วิธีป้องกันง่าย ๆ ดังนี้ 1. ไม่ควรใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย และใช้การยืนยันตัวตนแบบ Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นอย่างน้อย 2. ผู้ใช้งานควรตั้งรหัสผ่านที่แตกต่างกัน กรณีของผู้ใช้งานที่มีบัญชีโซเชียลมีเดีย ที่ใช้รหัสผ่านเดียวกันกับอีเมล (Email) หรือรหัสผ่านเดียวกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพื่อป้องการกันถูกเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้ 3. เปิดรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการเข้าสู่ระบบโซเซียลมีเดีย หากมีใครเข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์ที่ปกติไม่ได้ใช้งาน 4. อย่าหลงกลเชื่ออีเมลที่แจ้งให้เปลี่ยนรหัสผ่านโดยที่ผู้ใช้งานไม่ได้ดำเนินการ ผู้ใช้งานจะต้องไม่คลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมลเป็นอันขาด ที่มา : https://www.facebook.com/NCSA.Thailand/

รหัสผ่านที่หละหลวมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามอันใหญ่หลวง

การเริ่มต้นใช้รหัสผ่านในยุค 1960 ทำให้โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้รหัสผ่านได้กลายเป็นวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ใช้กันจนคุ้นชินโดยไม่ต้องท่องจำ ตั้งแต่ชื่อสัตว์เลี้ยงตัวแรกไปจนถึงชื่อจังหวัดเกิดของเรา วันนี้รหัสผ่านเป็นปราการหลักที่คอยปกป้องความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนเรื่องธนาคารและการเงิน แม้จะทราบเช่นนั้น แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมองว่ารหัสผ่านเป็นมาตรการที่ปลอดภัยเพียงพอ ทั้งที่จริงเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยเพราะคาดเดาได้ง่ายก็ตาม เพราะชื่อสุนัข ชื่อคู่สมรส วันเกิด หรือถ้อยคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคุณซึ่งพบเห็นได้บนโพรไฟล์โซเชียลมีเดีย ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้โจมตีสืบเสาะได้ง่ายเช่นกัน จริงที่ว่าหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลตกเป็นภาระของบริษัทที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว แต่ผู้บริโภคก็ทำอะไรได้หลายอย่างเพื่อปกป้องข้อมูลการเข้าสู่ระบบของตนเองเช่นกัน ดังนั้น วันรหัสผ่านโลก จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและเชิญชวนบุคคลทั่วไปตลอดจนองค์กรต่างๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของรหัสผ่านที่รัดกุม เพื่อดำเนินมาตรการปรับปรุงความปลอดภัยของรหัสผ่านให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่การโจมตีทางไซเบอร์และปัญหาการละเมิดข้อมูลกำลังลุกลาม การใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันจึงมีความสำคัญอย่างมากเพื่อช่วยปกป้องบัญชีออนไลน์และข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ผู้ใช้ราว 91% ทราบถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเมื่อใช้รหัสผ่านซ้ำกันในหลายบัญชี แต่ก็ยังมีกว่า 66% ที่ยังคงใช้รหัสผ่านซ้ำกันอยู่ดี ซึ่งสตีเวน เชอร์แมน รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ได้เสนอแนวทางง่ายๆ ในการทำให้รหัสผ่านกลายเป็นปราการหลักที่จะช่วยคุ้มครองชีวิตส่วนตัวและการทำงานของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ กำหนดแนวทางด้านรหัสผ่านเพื่อป้องกันการสุ่มเดารหัสผ่าน (password spraying): ใช้รหัสผ่านที่มีความยาวพอประมาณ เช่น คอมพิวเตอร์จะคาดเดารหัสผ่านที่มีความยาว 8 ตัวอักษร ได้ง่ายกว่ารหัสผ่านที่มีความยาว 16 หรือ 24 ตัวอักษร และควรใช้อักขระหลายแบบผสมกัน ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ […]

ครบรอบวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบ 130 ปี

ทำบุญ ครบรอบวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบ 130 ปี วันที่ 26 เมษายน 2566 นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีทำบุญ ครบรอบวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบ 130 ปี ณ สถานเสาวภา โดยมีสมเด็จพระกนิษฐา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นประธานในพิธี

แนะนำ 10 Cyber Security Blogs ที่น่าติดตาม

Credit: Rafal Olechowski/ShutterStock 1. Dark Reading Dark Reading เป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์ชั้นยอดสำหรับผู้ที่ทำงานด้าน Information Security โดยนำเสนอข่าวและการวิเคราะห์เกี่ยวกับการโจมตี การขโมยข้อมูล และช่องโหว่ต่างๆ รวมไปถึงกลยุทธ์ในการปกป้องข้อมูลขององค์กร นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำทางด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม ความถี่ในการโพสต์: ประมาณ 39 บทความต่อสัปดาห์ Facebook Fans: 17,079 Twitter Followers: 137,452 Alexa Rank: 43,174 2. Infosecurity Magazine – Information Security & IT Security Infosecurity Magazine เป็นแม็กกาซีนออนไลน์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์ รายละเอียดเชิงลึก และเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Information Security ความถี่ในการโพสต์: ประมาณ 35 บทความต่อสัปดาห์ Facebook Fans: 19,581 Twitter Followers: 130,444 Alexa Rank: 92,782 3. CSO Online […]

ประชุมโครงการพัฒนาระบบพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อลงทะเบียนฉีดวัคซีน ในกลุ่มผู้ไม่มีเอกสารประจำตัว

วันที่ 12 เมษายน 2566 สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลได้เข้าร่วมการประชุมโครงการพัฒนาระบบพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อลงทะเบียนฉีดวัคซีน ในกลุ่มผู้ไม่มีเอกสารประจำตัว โดยมีการหารือและสาธิตการทำงานของระบบดังกล่าวโดยมีพลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ เป็นประธานให้กับ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมคณะ คณะผู้บริหารจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด  สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรฯ

เอกสารแผนแม่บทเทคโนโลยีดิจิทัลสภากาชาดไทย พ.ศ.2567-2569 (ฉบับที่ 4) และแบบฟอร์มสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี พร้อมตัวอย่าง

1.แบบฟอร์มแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี 2.แบบฟอร์ม Roadmap แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี 3.แบบฟอร์มโครงการด้าน ICT (ปรับใหม่) 4.ตัวอย่างแบบฟอร์มแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี 5.ตัวอย่างแบบฟอร์ม Roadmap แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี 6.ตัวอย่างแบบฟอร์มโครงการด้าน ICT (ปรับใหม่) 7.คู่มือการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะ 3 ปี 8.มาตรฐานที่กำหนดสำหรับโครงการด้าน ICT

กระบวนการและปฏิทินการจัดทำโครงการด้าน ICT ปีงบประมาณ พ.ศ.2568

1.กระบวนการจัดทำโครงการด้าน ICT ปีงบประมาณ 2568 2.ปฏิทินในการจัดทำโครงการด้าน ICT ปีงบประมาณ 2568

การสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามชุดนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2022

ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล เป็นประธานในการบรรยายหัวข้อ “การสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามชุดนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2022” ซึ่งเป็นมาตรฐานฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมุ่งเน้นที่การป้องกัน, ตรวจจับ, และตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ (cyberattack) ควบคู่ไปกับการการปกป้องข้อมูล แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล โดยมีวิทยากรจากบริษัท ที-เน็ต จำกัด

สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลศึกษาดูงาน DGA

นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล สภากาชาดไทย นำคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ศึกษาดูงาน ณ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ซอยรางน้ำ กรุงเทพฯโดยมี ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการและคณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ให้การต้อนรับคณะฯ ทั้งนี้มีประเด็นในการศึกษาดูงาน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2. การให้บริการระบบ Contact Center 3. การบริหารจัดการ Data Center นอกจากนี้คณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการห้อง Data Center ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 27001 เพื่อนำมาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบภายในห้อง Data Center ของสภากาชาดไทยในอนาคต

Skip to content